เมนู

อรรถกถาปณิหิตอัจฉวรรคที่ 5



อรรถกถาสูตรที่ 1



วรรคที่ 5 สูตรที่ 1

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
ศัพท์ว่า เสยฺยถาปิ เป็นนิบาต ใช้ในอรรถว่า อุปมา. ในอรรถ
ที่ว่าด้วยอุปมานั้น บางแห่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงเอาข้อความ
ประกอบอุปมาเหมือนในวัตถสูตร และในปริฉัตตโกปมสูตรและ
อัคคิขันโธปมสูตร ในที่บางแห่งทรงแสดงเอาอุปมาประกอบข้อความ
เหมือนในโลณัมพิลสูตร และเหมือนในสุวัณณการสูตร และ สุริโยปม-
สูตรเป็นต้น แต่ในสาลิสูโกปมสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรง
เอาอุปมาประกอบข้อความจึงตรัสคำมีอาทิว่า เสยฺยถาปิ ภิกฺขเว
ดังนี้ บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สาลิสูกํ แปลว่า เดือยแห่งเมล็ดข้าว
สาลี แม้ในเดือยแห่งข้าวเหนียวก็นัยนี้เหมือนกัน วา ศัพท์ มีอรรถว่า
วิกัปป์ ไม่แน่นอน. บทว่า มิจฺฉาปณิหิตํ แปลว่าตั้งไว้ผิด อธิบายว่า
ไม่ตั้งให้ปลายขึ้นโดยประการที่อาจจะทิ่มเอาได้ บทว่า ภิชฺชิสฺสติ
ความว่า จักทำลาย คือจักเฉือนผิว.
บทว่า มิจฺฉาปณิหิเตน จิตฺเตน แปลว่า ด้วยจิตที่ตั้งไว้ผิด
คำนี้ท่านกล่าวหมายเอาจิตที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจวัฏฏะ บทว่า อวิชฺชํ
ได้แก่ ความไม่รู้อย่างใหญ่ มากด้วยความทึบ เป็นความไม่รู้ใน
ฐานะ 8. บทว่า วิชฺชํ ในคำว่า วิชฺชํ อุปฺปาเทสฺสติ นี้ ได้แก่ ญาณอัน
สัมปยุตด้วยอรหัตตมรรค. บทว่า นิพฺพานํ ได้แก่ อมตะ คุณชาติ